เส้นทางสู่การค้นพบตัวเองผ่าน “Inner Child” - EP1/3 ( Inner Child คือ อะไร)
- Better Call Nika
- 3 วันที่ผ่านมา
- ยาว 2 นาที

Inner Child (อินเนอร์ ไชด์) เป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ ความรู้สึก และประสบการณ์ตั้งแต่วัยเด็กของจิตใต้สำนึกของเราที่เก็บความทรงจำไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นเด็ก ที่ได้รับทั้งความสนุกสนาน และความเจ็บปวดที่เป็นบาดแผลทางจิตใจในวัยเด็ก ลักษณะเหล่านี้ จะมีอิทธิพลและส่งผลต่อเราในสถานการณ์ ความสัมพันธ์และการรับรู้ ในโลกของความเป็นผู้ใหญ่
และ อีกมุมมองหนึ่ง Inner Child จะตอบสนองความรู้สึกมหัศจรรย์ ความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นธรรมชาติ ซึ่งเป็นความรู้สึกพึงพอใจเป็นส่วนหนึ่งของเรา หาได้จากความสนุกในสิ่งง่ายๆ มีความฝัน มีความรู้สึกที่ลึกซึ้ง อย่างไรก็ตาม หากความต้องการในวัยเด็กของเราไม่ได้รับการตอบสนองไม่ว่าจะเพราะการละเลย ความเครียด หรือความกดดันทางอารมณ์ Inner Child ของเราก็จะเก็บกดความเจ็บปวด ความกลัว ความไม่ปลอดภัย ส่งผลในวัยผู้ใหญ่
การเยียวยาความเป็น Inner Child เป็นกระบวนการที่ทรงพลังของการไตร่ตรองตนเอง การรักษาทางอารมณ์ และการเติบโตส่วนบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อกับตัวตนในวัยเยาว์อีกครั้ง เป็นตัวตนที่ยังคงยึดติดกับอารมณ์ ความกลัว และความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองในอดีต การยอมรับและดูแลInner Child ในตัวคุณ จะช่วยให้คุณทำลายรูปแบบเก่าๆ พัฒนาความเห็นอกเห็นใจตนเอง และสัมผัสกับความรู้สึกสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ปมในใจของมนุษย์ทุกคน เสมือนเป็นกับดัก ที่ฉุดรั้งให้การเดินทางของชีวิตเราช้าลง หรือฉุดเราให้อยู่ที่เดิม แต่ความไม่ยอมแพ้ของมนุษย์ที่เราจะเอาชนะสิ่งนี้ เราสู้ เราหาวิธีเพื่อที่ค้นพบว่า แล้วอะไรที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เรามีสุขภาพจิตแบบนี้ เป็น อาการแบบนี้ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า เช่น ความทุกข์ ความไม่สบายในจิตใจ ที่เก็บเอาไว้ในจิตใจมานานหลายปี แต่ละวันเรารับรู้อะไรบ้าง ทางโซเชียลมีเดีย เรารับรู้ความเป็นธรรมชาติ วันแล้ว วันเล่า ทุกการรับรู้จะถูกหล่อหลอมไว้กับจิตใต้สำนึก วันหนึ่งเราเจอเหตุการณ์ ที่เรารู้สึกไม่สบายในจิตใจ จิตใต้สำนึกส่งภาพ ความรู้สึก มาส่งเสริมให้เรามีความรู้สึกนั้นมากขึ้น ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นทางเลือกว่า เราจะมีความไม่สบายใจต่อไปหรือ เราจะปลดล็อคสิ่งนั้น มันไม่ใช่ความผิดใดๆ เพียงแต่เราไม่เข้าใจถึงการเยียวยาตัวเราที่ต่างหาทางออกเพื่อปลดล็อคความรู้สึก หรือบาดแผลทางจิตใจที่เก็บไว้มานาน
มาทำความรู้จัก คำว่า Inner Child (อินเนอร์ไชด์) ซึ่งได้เกริ่นไปแล้วคร่าวๆ หลายคนอาจจะรู้จักบ้างแล้ว ที่จะเป็นทางเลือก ไอเดีย แนวคิด และเป็นอีกมุมมองหนึ่งที่ช่วยเยียวยาภาวะ Inner Child ซึ่งเราจำเป็นเราต้องใช้เวลา ใช้ความเข้าใจ ความรู้สึกของตัวเอง อย่างแท้จริง ซึ่งนำไปสู่ การค้นพบตัวเองมากขึ้น
แรงจูงใจที่ผู้เขียน (Better Call Nika) เขียนบทความนี้ ได้บทเรียนมาจากความเจ็บปวดจากสองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน กระตุ้นถึงตัวเองอยู่ในภาวะ Inner Child และต้องการหาทางออก เพื่อที่จะค้นหาตัวเองและเลือกที่จะเป็นตัวของตัวเอง ผลที่ได้รับคือ อารมณ์สงบขึ้น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เข้าใจผู้คนมากขึ้น มีขอบเขต ความเป็นส่วนตัว เคารพผู้อื่น

ก่อนที่ผู้เขียนจะมาเจอภาวะ Inner Child ก็เผชิญกับสถานการณ์วิกฤติและความเจ็บปวดครั้งใหญ่ ถ้าไม่เจอความวิกฤติเราจะไม่เห็นแสงสว่างเล็กเล็กที่เปิดประตูรอรับเราอยู่ ในช่วงสถานการณ์โควิด หลาย ๆ คน ประสบเหตุการณ์ไม่ต่างกันเรื่องธุรกิจ จากที่ทำงานต้องหยุดยาว แค่นั้นไม่พอ ความรักที่เราคิดว่าใช่แล้ว แต่ไม่ใช่ เมื่อเวลนั้นมาถึงสิ่งที่ต้องเผชิญ คือ ความเจ็บปวด ความทุกข์ ความไม่ปลอดภัย ในขณะนั้น มันผุดขึ้นอย่างรวดเร็ว เวลาผ่านไปสักพัก บอกตัวเองว่า “ฉันยอมแพ้กับทุกสิ่ง ฉันกลับมาทบทวนตัวเองก่อนดีมั๊ย” คำถามที่ถามกับตัวเอง เป็นจุดเริ่มต้นค้นหาความจริงในตัวเอง และแล้วเราก็ปลดล็อคบางอย่างกับตัวเองได้ “ใช้เวลา และทำความเข้าใจ” คือสิ่งสำคัญ หากเราจะปลดล็อคตัวเองผ่าน “Inner Child”
Inner Child (อินเนอร์ ไชด์) คือ อะไร
หลากหลายบทความให้คำนิยามของคำว่า Inner Child ที่แตกต่างกันโดยเฉพาะบทความจากต่างประเทศ แต่ก็มีส่วนที่สอดคล้องกัน ผู้เขียนจะหยิบยกมา 3 คำนิยาม เกี่ยวกับ Inner Child บทความแรกได้ให้ใจความว่า
“An inner child is a psychological concept that represents the childlike aspects of our personality and emotional state. It’s a metaphorical way of describing the younger parts of us that can sometimes emerge when we are faced with stressful or traumatic situations.”
“Inner Child คือแนวคิดทางจิตวิทยาที่แสดงถึงลักษณะนิสัยและอารมณ์ของตัวเราที่เหมือนเด็ก เป็นวิธีเปรียบเทียบเพื่ออธิบายส่วนที่ยังเด็กในตัวเรา ซึ่งบางครั้งอาจปรากฏขึ้นเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดันหรือกระทบกระเทือนจิตใจ”

และอีกบทความหนึ่งได้ให้คำนิยามของ “Inner Child” ได้น่าสนใจเช่นกัน ใจความว่า
“Inner child work is an approach to recognizing and healing childhood trauma. It recognizes that our behaviors as an adult stem from our childhood experiences. Inner child work focuses on addressing our unmet needs by reparenting ourselves. This kind of self-discovery helps us understand our behaviors, triggers, wants, and needs.”
“การทำงานของ Inner Child เป็นแนวทางในการรับรู้และเยียวยาบาดแผลทางจิตใจในวัยเด็ก โดยตระหนักว่าพฤติกรรมของเราเมื่อเป็นผู้ใหญ่เกิดจากประสบการณ์ในวัยเด็ก การทำงานของ Inner child มุ่งเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองด้วยการเลี้ยงดูตนเองใหม่ การค้นพบตนเองประเภทนี้ช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรม สิ่งกระตุ้น ความต้องการ และความจำเป็นของเรา”

ในส่วนของอีกบทความหนึ่ง ในมุมมองของบทความนี้ ขยายความและให้คำนิยามของ Inner Child ได้น่าสนใจเช่นกัน ใจความว่า
“The inner child is a young part of our psyche that influences how we think and react as adults. Often used in psychotherapy and spiritual settings, the inner child can symbolize hardship, trauma, and even triumph we experienced during our youth.”
“Inner Child คือส่วนหนึ่งของจิตใจของเราที่มีอิทธิพลต่อวิธีคิดและการตอบสนองของเราเมื่อเป็นผู้ใหญ่ มักใช้ในการบำบัดทางจิตวิเคราะห์และในบริบททางจิตวิญญาณ Inner Child สามารถสื่อถึงความยากลำบาก บาดแผลทางใจ และแม้แต่ชัยชนะที่เราประสบในช่วงวัยเยาว์”
อ้างอิงจาก https://bit.ly/verywellmind-innerchild

การทำงานของ Inner Child นั้นทำงานอย่างไร
Inner Child เป็นแนวทางในการรับรู้และเยียวยาบาดแผลทางจิตใจในวัยเด็ก โดยตระหนักว่าพฤติกรรมของเราเมื่อเป็นผู้ใหญ่เกิดจากประสบการณ์ในวัยเด็กมีความสัมพันธ์กันอยู่ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองที่เป็น ความรู้สึกละอาย ความรู้สึกมองตัวเองไม่เหมาะสม ตัวเราเองก็จะเก็บความรู้สึกนั้นไว้จะไม่ให้เกิดขึ้นอีก หากเราฟื้นฟูตัวเองด้วยการดูแลตัวเองใหม่ การค้นพบตนเองประเภทนี้ช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรม สิ่งกระตุ้น ความต้องการ และความจำเป็นของเรา
เมื่อเราเริ่มการเยียวยา ภาวะ Inner Child เราจะเข้าถึงส่วนหนึ่งของตัวเราที่เปราะบางและความประทับใจได้ง่าย เราสามารถเป็นทั้ง "ผู้ใหญ่" และ "เด็ก" โดยมอบความรักตนเอง ความเห็นอกเห็นใจตนเอง และการสนับสนุนตนเองอย่างไม่มีเงื่อนไข

เมื่อคุณเริ่มพยายามเยียวยา Inner Child คุณจะย้อนเวลากลับไปในอดีต ทั้งทางอารมณ์และจิตใจ สู่เหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจนั้น คุณจะเข้าใจได้ว่า Inner Child ในตัวคุณรู้สึกอย่างไรจากมุมมองของผู้ใหญ่ เมื่อเป็นเช่นนี้ ตัวตนในวัยผู้ใหญ่ของคุณจะเริ่มคลี่คลายกลไกการรับมือที่ตัวตนของคุณตอนเด็กที่คิดขึ้นเพื่อปกป้องคุณจากความเจ็บปวดในอนาคต
เห็นชัดจากประสบการณ์ผู้เขียนเองค่ะ ด้วยการสังเกต ตัวเองว่า เมื่อหลายปีผ่านมาแล้ว ช่วงนั้นคือมีความรักที่คิดว่า ใช่คนนี้ ใช้ชีวิตไปคิดว่าทุกอย่างปกติ แฟนที่คบหาเป็นพ่อหม้ายลูกติด เราไม่เข้าใจ ความผูกพันธ์ของคำว่าความรักของพ่อที่มีต่อลูก ต้องเกริ่นก่อนว่าผู้เขียนเติบโตมากับคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว การให้ความรักที่คุณแม่มอบให้ จะแตกต่างจาก ความรักที่เราพยายามสัมผัสคือความรักผู้เป็นพ่อมอบให้ลูกซึ่งเราไม่เคยสัมผัส ความรู้สึก ณ ตอนนั้น คือไม่สบายใจแต่หาสาเหตุไม่ได้ มีครั้งหนึ่งที่ร้องไห้และบอกกับแฟนเหมือนกันไม่รู้เป็นอะไรถึงร้องไห้โดยไม่รู้สาเหตุ เวลาผ่านไปจนเหตุการณ์ที่เรียกว่าวิกฤติสถานการณ์โควิด ธุรกิจเงียบ ไม่มีงาน แฟนบอกเลิก จากที่เคยทำงานแทบทุกวัน เป็นคนว่างงาน อยู่คนเดียว เวลาวิกฤติ เป็นจุดเริ่มต้นและค้นหาตัวเองถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นกับตัวเอง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหมือนสัญญาณที่คอยจะบอกเราตลอด แต่เราไม่สังเกตตัวเอง เพราะเรามัวแต่มองคนอื่น ลองใหม่ด้วยคำถาม ที่ถามตัวเองว่า “ทำไมคนที่เรารัก ถึงทิ้งเราไป ทั้งที่เราคิดว่าเต็มที่กับเขามาก” หลังจากนั้นเริ่มอ่านหนังสือเพื่อหาคำตอบ ค้นคว้าเพื่อที่จะรู้ความจริงไขปมความรัก แม้จะเลิกกันแต่เราก็ผูกพันกลายมาเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันได้ เติมเต็มความรักมิตรภาพของความเป็นเพื่อนตลอดไป มองความรักในครั้งนี้คือจุดเปลี่ยนตัวเองอย่างหนึ่งที่ขัดเกลาตัวเอง เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เข้าใจความรักที่หลากหลาย
หลายๆคน ผู้เขียนเชื่อว่า ยังคงติดกับดักภาวะ Inner Child กลไกของธรรมชาติ ต้องการให้เราอยู่ใน comfort zone แต่บางครั้งการเผชิญกับปัญหา เราจะเจอทางออกอย่างหนึ่งที่จะยกระดับความคิด ความรู้สึก จิตใจของเรา เพื่อเป็นตัวของตัวเองให้มากขึ้น Inner Child จะเสมือนเป็นการเยียวยา อารมณ์และจิตใจ ของเรา ด้วยการเข้าใจ ซึ่งต้องใช้เวลา ในการการปลดล็อคปมในใจของเรานั่นเอง
Writer : Better Call Nika
อ้างอิงจาก :
Comments